Saturday, 27 April 2024
NEWSFEED

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ผลิตน้ำมัน แล้วไม่พอต่อการใช้งานของคนในประเทศ

     ราคาน้ำมันที่มีการผันผวนตลอดเวลา ไม่ว่าจะเนื่องด้วย เหตุผลใดก็ตาม ย่อมส่งผลต่อความไม่พอใจของประชาชนมาตลอด และเมื่อไม่พึงพอใจ ก็จะเกิดการเปรียบเทียบ 

     ในวิกฤติราคาน้ำมันทุกๆครั้ง ดังที่จะเห็นจนคุ้นตา คือการที่มักมีบางกลุ่ม เปรียบเทียบราคาพลังงานไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะมาเลเซีย

 

     เมื่อไม่นานมานี้ ก็มีกรณีผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ที่ลงทุนเดินทางไปถึงมาเลเซียเพื่อเติมน้ำมันที่นั่น ก่อนจะเปรียบเทียบราคาน้ำมันของไทยกับมาเลเซียลงสื่อโซเชียล ส่งผลให้รัฐบาลมาเลเซียสั่งการให้มีการตรวจสอบผู้มาขอรับบริการว่าเป็นพลเมืองมาเลเซียหรือไม่ เนื่องจากราคาน้ำมันของมาเลเซีย ได้รับการชดเชยราคาโดยตรงด้วยภาษีของคนมาเลเซีย

 

     แต่หากมองย้อนกลับไปที่ประเทศลาว จะเห็นว่าประเทศลาวนั้น มีราคาน้ำมันที่สูงกว่าไทยตลอด เนื่องจากว่าลาวนั้น ไม่มีแหล่งเชื้อเพลิงของตนเอง ราคาน้ำมันในลาว จึงเป็นราคาที่เพิ่มค่าใช้จ่ายในการขนส่งจากประเทศไทยเข้าไปร่วมด้วย เป็นสาเหตุให้มีราคาที่สูงกว่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง

 

นั่นทำให้คนลาวบางส่วน เข้ามาเติมน้ำมันในประเทศไทย และประเทศไทยก็สั่งห้ามเช่นเดียวกับมาเลเซีย

 

---

 

     หันกลับมาพิจารณาถึงที่มาของราคาน้ำมัน ประเทศที่มีความสามารถในการขุดเจาะน้ำมันได้เอง และกลั่นน้ำมันได้เอง จะมีราคาน้ำมันสำหรับการใช้ในประเทศที่มีราคาถูกลงมากกว่าประเทศที่ต้องนำเข้าพลังงานทั้งหมด

 

     แต่จะถูกมากน้อยเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับว่า ประเทศนั้น ๆ มีปริมาณน้ำมันสำรอง และกำลังการผลิตมากเพียงพอที่จะตอบสนองของคนทั้งประเทศหรือไม่

 

      จากข้อมูลของ Worldometer ระบุว่า ใน พ.ศ. 2559 มาเลเซียมีปริมาณน้ำมันสำรอง 3,600,000,000 บาร์เรล มากเป็นอันดับที่ 28 ของโลก ในขณะที่ประเทศไทยมีเพียง 404,890,000 บาร์เรล อยู่อันดับที่ 50 อีกทั้งมีปริมาณน้อยกว่ามาเลเซียถึง 8.9 เท่า

 

     นอกจากนี้ กำลังการผลิตของมาเลเซียนั้น เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ สำหรับประชากรเพียงแค่ 32 ล้านคน มีน้ำมันเหลือใช้มากถึงวันละ 54,168 บาร์เรลต่อวัน ในขณะที่ไทย ทั้ง ๆ ที่ผลิตได้น้อยกว่า แต่กลับมีอัตราการบริโภคที่สูงกว่า จนทำให้กำลังการผลิตต่อวัน น้อยกว่าอัตราการบริโภคมากถึง 770,671 บาร์เรลต่อวันเลยทีเดียว

 

---

     แต่ถึงแม้มาเลเซียจะมีกำลังการผลิตน้ำมันที่ล้นเหลือ แต่มาเลเซียก็ยังมีการนำเข้าน้ำมันมากถึง 197,489 บาร์เรลต่อวัน และส่งออกน้ำมัน 390,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งนี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ราคาน้ำมันในมาเลเซียเองก็ผันผวนตามราคาน้ำมันของโลกด้วยเหมือนกัน เพียงแต่ไม่ส่งผลกระทบมากเท่ากับประเทศไทยนั่นเอง

 

     จากรายงานของ Worldometer ระบุว่า มาเลเซียมีน้ำมันสำรอง 0.2% เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำมันสำรองของโลก (1,650,585,140,000 บาร์เรล อ้างอิงข้อมูล พ.ศ. 2559) ในขณะที่ประเทศไทย มีปริมาณน้ำมันสำรองเพียง 0.02345% เพียงเท่านั้น

 

      การที่จะนำประเทศไทยไปเปรียบเทียบกับมาเลเซีย ในเรื่องราคาน้ำมัน และความพยายามที่จะผลักดันให้ประเทศไทย ดำเนินนโยบายราคาน้ำมันแบบมาเลเซียนั้น จึงไม่ต่างอะไรกับการขี่ช้างจับตั๊กแตนเลย

 

---

 

     การดำเนินนโยบายการบริหารราคาและกำลังการผลิตน้ำมันของประเทศอย่างเหมาะสม เป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่าการกดราคาน้ำมันเพียงอย่างเดียว

 

     ตัวอย่างที่ชัดเจนคือประเทศเวเนซุเอลา ซึ่งเป็นประเทศที่มีน้ำมันสำรองมากที่สุดในโลกถึง 299,953,000,000 บาร์เรล ซึ่งมากกว่ามาเลเซียถึง 83 เท่า แต่เนื่องด้วยรัฐบาลเวเนซุเอลาเลือกที่จะผูกขาดการผลิตน้ำมันของประเทศเอาไว้กับรัฐวิสาหกิจเพียงรายเดียว เพื่อส่งเสริมนโยบายประชานิยมของรัฐบาล ทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจของเวเนซุเอลาอ่อนแอ จนเป็นเหตุให้เศรษฐกิจของประเทศพังทลายลง ในเวลาต่อมา

 

     ในขณะที่ประเทศไทย กลุ่มบริษัทพลังงานไทย อาทิเช่น ปตท. และบางจาก มีวิสัยทัศน์ที่จะพัฒนาพลังงานของประเทศ มีการลงทุนในธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เช่นโรงงานไฟฟ้าพลังงานชีวมวล ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และนโยบายส่งเสริมพัฒนาพลังงานของกระทรวงพลังงาน ทำให้โครงสร้างพลังงานของประเทศไทยนั้น มีความมั่นคงแข็งแรง

 

     โดยสรุปแล้ว ประเทศไทยของเรา ไม่ได้มีแหล่งน้ำมันที่มากเพียงพอต่อความต้องการของประเทศเลย การนำเข้าน้ำมัน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การที่ประเทศไทยของเรา มีกลุ่มธุรกิจพลังงานสัญชาติไทย ทำให้เรามีศักยภาพในการพัฒนาประสิทธิภาพของพลังงานได้ด้วยตัวเอง มีองค์ความรู้เป็นของตัวเอง

 

     พวกเราทุกคนจึงควรจะเข้าใจในสภาพความเป็นจริงด้านพลังงานของประเทศ เพื่อการวิจารณ์นโยบายของรัฐบาลและกลุ่มบริษัทพลังงานอย่างมีเหตุผล เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างถูกต้อง ตามระบอบประชาธิปไตย

 

ผู้เขียน ศิราวุธ ภุมมะกสิกร

 


อ้างอิง

[1] Worldometer, “Thailand Oil (2016)” https://www.worldometers.info/oil/thailand-oil/

[2] Worldometer, “Malaysia Oil (2016)” https://www.worldometers.info/oil/malaysia-oil/

[3] Worldometer, “Oil Reserves by Country (2016)” https://www.worldometers.info/oil/oil-reserves-by-country/

[4] The Infographics Show, 2021, “What Actually Went Wrong With Venezuela” https://www.youtube.com/watch?v=Olw5Gaugpl8&t=283s

INFLUENCER TRIP by PTT

INFLUENCER TRIP BY PTT ก้าวผ่าน….สู่อนาคต


   ปตท.กับการขับเคลื่อนประเทศ ก้าวสู่อนาคตด้วยพลังงานทางเลือกใหม่ แก้ปัญหามลภาวะ และให้ความสำคัญกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions)  

   โดยจัดตั้งกิจกรรม วันที่ 26 ตุลาคม 2565 ณ ปตท. สำนักงานใหญ่ ได้เรียนเชิญเหล่าบรรดา INFLUENCER มากมายพร้อมทั้งสื่อมวลชน มาพบปะภายในงาน พูดคุยจัดการพากันก้าวผ่านสู่อนาคต

ยิ่งกว่าเคียงข้าง

เมื่อเร็ว ๆ นี้ - นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมผู้บริหารและพนักงานกลุ่ม ปตท. ในนาม “ชมรมพลังไทยใจอาสา กลุ่ม ปตท.” ร่วมบรรจุถุงยังชีพจำนวน 1,500 ถุง เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจากอิทธิพลพายุโนรู ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ได้แก่ เทศบาลตำบลวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 1,000 ถุง

พร้อมส่งทีมปฏิบัติการชมรม PTT Group SEALs เจ้าหน้าที่พร้อมเรือท้องแบนและอุปกรณ์กู้ภัยเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ นอกจากนั้นจะนำส่งที่ ตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี จำนวน 500 ถุง โดยในปี 2565 นี้ ปตท. มีแผนการดำเนินการแจกจ่ายถุงยังชีพเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจำนวนกว่า 10,000 ถุง โดยถุงยังชีพประกอบด้วย อาหารพร้อมรับประทาน เครื่องอุปโภค บริโภค ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพและสามารถใช้ได้ทันที เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนเบื้องต้น

ปตท.ใจป้ำมอบบัตรเติมน้ำมัน!

ไม่ว่าประชาชนจะเดือดร้อนเรื่องใดเราก็จะเห็นหนึ่งองค์กรที่คอยเคียงคู่ประชาชน อยู่ตลอดมา

ขอบคุณกลุ่ม ปตท. มอบบัตรเติมน้ำมัน สนับสนุน กทม. เพื่อบรรเทาเหตุน้ำท่วม

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (กลางซ้าย) มอบบัตรเติมน้ำมันมูลค่า 200,000 บาท ในนามกลุ่ม ปตท. แก่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อสนับสนุนการทำงานของกรุงเทพมหานครในการช่วยเหลือเหตุอุทกภัย และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ณ อาคาร ปตท. สำนักงานใหญ่ ถ.วิภาวดีรังสิต กทม.

ปตท.คว้ารางวัล

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทความรับผิดชอบต่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2565 แก่ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในโอกาสที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง ผ่านการตรวจประเมินและได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นจากกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงคุณค่าและเป็นกำลังใจแก่ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565 ที่ ทำเนียบรัฐบาล

.

.

.

โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง ได้ดำเนินธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุดมาอย่างต่อเนื่องทั้งภาคพลังงานและภาคสังคม ด้วยการสร้างนวัตกรรมและนำเทคโนโลยีมาใช้ในทุกภาคส่วนโดยล่าสุดได้ใช้องค์ความรู้ด้านวิศวกรรมนำความเย็นที่เกิดจากกระบวนเปลี่ยนสถานะของก๊าซฯ จากกระบวนการผลิตมาปรับใช้เพาะปลูกพืชเมืองหนาว คือ สตรอว์เบอรี่พันธ์ Akihime ที่โรงเรือนอัจฉริยะ ณ สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพฯ จ.ระยอง ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี อันเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ทั้งด้านเกษตรวิศวกรรม เทคโนโลยีการปลูกสู่เกษตรกรในพื้นที่จ.ระยอง อนึ่ง ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ของ ปตท. “ขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังแห่งอนาคต” หรือ “Powering Life with Future Energy and Beyond” ปตท. พร้อมเป็นฟันเฟืองสนับสนุนนโยบายรัฐบาลขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ สร้างคุณค่าต่อสังคมไทยและประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

มุ่งหน้าสู่เป้าหมาย

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ที่ 2 จากขวา) ในฐานะประธานเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network หรือ TCNN) เป็นประธานการประชุมคณะผู้บริหารกรรมการเครือข่ายฯ (Council Board) ประจำปี 2565 โดยมี นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (กลาง) 

นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กรและความยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ขวา) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรรมการเครือข่ายฯ และผู้บริหารกลุ่ม ปตท. เข้าร่วมการประชุม เพื่อสรุปผลความสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยคณะกรรมการฯ ได้หารือถึงแผนการดำเนินงานให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ของ TCNN ในการเป็น “เครือข่ายแกนนำของประเทศไทยสู่การบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และ 
Net Zero”
 

ปตท. ลงนาม MOU!

นายณรงค์ไชย  ปัญญไพโรจน์  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction  Program : T-VER) กับ  ดร.พฤกษ์  อักกะรังสี  ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ  คุณอานนท์
ฤทธิ์ธาร ผู้อำนวยการสายงานปฏิบัติการ ผู้แทนจากบริษัท ซีพีพี จำกัด 

สำหรับการลงนามความร่วมมือดังกล่าว เป็นการต่อยอดจากการพัฒนาก๊าซไบโอมีเทนอัดจากน้ำเสียและของเสียโรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของบริษัท  ซีพีพี โดยการกักเก็บก๊าซมีเทนจากการบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศ มาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซ NGV ในสถานีบริการ NGV  ในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินการตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบันได้ต่อยอดความร่วมมือ เพื่อขอการรับรองคาร์บอนเครดิต ในโครงการ T-VER  ทั้งนี้เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโครงการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำของประเทศอย่างแข็งแรงและยั่งยืนตลอดไป

 


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. CLOUD47Bangkok
Take Me Top