Monday, 6 May 2024
ปตท.

alt.Eatery สุขุมวิท 51 คอมมูนิตี้อาหาร Plant-based อาหารแห่งอนาคต

กระแส Plant-based กำลังกลายเป็นเทรนด์ระดับโลก เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพมากยิ่งขึ้น พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ลดการบริโภคเนื้อสัตว์รวมถึงเทรนด์ในการรักษ์โลกและสิ่งแวดล้อมเพราะกระบวนผลิตและบริโภคเนื้อจากพืช (Plant-based) ช่วยลดโลกร้อนได้ และคำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ที่กลายเป็นอาหารของมนุษย์มาอย่างยาวนาน โดยมีผลสำรวจของ Euromonitor International's Voice of the Industry: Health and Nutrition 2022 ที่ตั้งคำถามว่า "เหตุผลอะไรที่คุณบริโภค Plant-based" 

สำรวจเมื่อ ค.ศ. 2021 เปรียบเทียบกับ ค.ศ. 2022 ล่าสุด ผลปรากฏว่ามีเหตุผลในสามอันดับแรกไม่ต่างกัน ได้แก่ ร้อยละ 37 ทาน Plant-based เพราะรู้สึกแข็งแรงขึ้น ตามด้วย ร้อยละ 25 ทาน Plant-based เพราะต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพในระยะยาว และร้อยละ 24 ทาน Plant-based เพราะรสชาติอร่อย ส่วนประมาณการมูลค่าตลาดของ Plant-based ในประเทศไทย โดยบริษัท Euromonitor and Allies ประมาณการว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 845 ล้านดอลลาร์ในปี พ.ศ. 2562 เป็น 1,500 ล้านดอลลาร์ในปี พ.ศ. 2567 โดยมีการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี ธุรกิจอาหาร Plant-based จึงกลายเป็นธุรกิจที่น่าสนใจซึ่งไม่เพียงตอบโจทย์ในการรักษ์โลกใบนี้เท่านั้นแต่ยังตอบโจทย์เรื่องเทรนด์สุขภาพที่มาแรงอีกด้วย

คุณพรรณนภิศ ฤทธิไพโรจน์ (คุณพลอย) ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจและการตลาด บริษัท นิวทรา รีเจนเนอเรทีฟ โปรตีน จำกัด (NRPT) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด (บริษัทย่อยที่ ปตท. ถือหุ้น 100%) กับบริษัท โนฟ ฟู้ดส์ จำกัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจพัฒนาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนจากพืชแบบครบวงจร พูดคุยถึงธุรกิจ “Life Science” อาหารเพื่อสุขภาพ Plant-based กับทีมข่าว THE STATES TIMES ว่า “ร้าน alt.Eatery เป็นคอมมูนิตี้อาหาร Plant-based ร้านที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ แห่งแรกบนพื้นที่ของแสนสิริ ริมถนนสุขุมวิท 51 ภายในร้านประกอบด้วย 2 โซน ได้แก่ร้านอาหาร และ mini mart ในโซนร้านอาหารมีเมนูตั้งแต่ appetizer, main, ของหวาน และโซน mini mart มีสินค้า Plant-based มากกว่า 500 ชนิด จากผู้ประกอบการมากกว่า 80 ราย ให้เลือกซื้อ”

คุณพลอย อธิบายต่อว่า “การรับประทานอาหาร Plant-based เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งในการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน เพราะมันคือไลฟ์สไตล์ ได้รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและยังช่วยรักษ์โลกอีกด้วย เราไม่ได้ให้ความสำคัญด้านอาหาร Plant-based เพียงอย่างเดียว เราให้ความสำคัญแม้กระทั่งตัวอาคารของร้าน alt.Eatery ด้วย เพราะมองว่าทุกจุดคือความยั่งยืน เริ่มจากตัวอาคารที่สร้างด้วยแนวคิด Low Carbon Footprint ด้านหลังร้านมีการตั้งจุดชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถ EV ส่วนบนหลังคาของอาคารมีการใช้ระบบ Solar Roof เพื่อประหยัดพลังงาน หรือแม้กระทั่งตัวอาคารก็สร้างแบบ Complete Knock-Down ไม่มี Construction Wastes เลย ทุกจุดเราสนใจความยั่งยืนมาก”

ส่วนคำถามที่ว่า Plant-based มีความแตกต่างกับอาหารในปัจจุบันอย่างไร คุณพลอยอธิบายว่า “Plant-based คือนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต นวัตกรรมทำให้สามารถแยกโปรตีนและแป้งออกจากกันได้ สามารถพัฒนาโภชนาการอาหารเพื่อสุขภาพ เน้นให้เหมาะกับบุคคลแต่ละกลุ่ม ตามอายุ เพศ หรือความต้องการด้านโภชนาการเพื่อป้องกันโรคและโภชนาการทางการแพทย์ (Medical Nutrition) สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการดูแลทางโภชนาการ ผู้ป่วยเฉพาะโรค ยกตัวอย่างเช่น คนที่ทานแต่เนื้อสัตว์และไม่ทานพืชผักเลยก็อาจจะขาดกรดอะมิโนบางชนิดที่อยู่ในพืชผักได้ ซึ่ง Plant-based สามารถใส่กรดอะมิโนลงไปหรือการพัฒนาโภชนาการอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วยในอนาคต เราสามารถ Customize ให้เหมาะสม หรือในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการเคี้ยวเราสามารถใช้นวัตกรรมปรับเนื้อให้อ่อนนุ่มเพื่อให้ผู้สูงอายุเคี้ยวได้ง่ายขึ้น”

ส่วนจุดเด่นของร้าน alt.Eatery คืออะไร คุณพลอยกล่าวว่า “คือเรื่องราคา เพราะราคาเป็นหนึ่งใน Pain Point ที่สำคัญมาก สินค้า Plant-based โดยทั่วไปมีราคาสูง เราอยากให้มาลอง เลยทำราคาเริ่มต้นเพียง 39 บาท ส่วนเรื่องของรสชาติ เราได้เชฟชั้นนำ อย่างเชฟใบเตย เชฟชื่อดังจากรายการ Top Chef Thailand ขนมหวาน มาทำขนมหวานและเชฟท่านอื่นๆ มาปรุงเมนูอาหารสูตรเด็ด เพราะเราอยากลองว่าถ้าปรุงโดยฝีมือเชฟ คนทานจะรู้สึกอย่างไร ซึ่งเราได้รับผลตอบรับที่ดีมาก ปัจจุบันร้าน alt.Eatery ไม่เคยโฆษณาเลยว่าเป็นวีแกน หรือเป็น Plant-based ลูกค้าที่เดินเข้ามาที่ร้านเห็นตู้โดนัทแล้วอยากลองทาน เห็นผัดไทย เบอร์เกอร์แล้วชอบ มาลองดูดีกว่า ส่วนใหญ่ก็จะประหลาดใจว่าเป็น Plant-based เหรอแต่รสชาติอร่อยมาก มีลักษณะแบบนี้เยอะมาก เราดีใจที่คนเริ่มเปิดใจและรับรู้มากขึ้นว่าไม่ใช่อาหารเจ อาหารมังสวิรัติ แต่เป็นอาหาร Plant-based ส่วนเมนูที่ได้รับความนิยมสูงสุดของร้าน alt.Eatery ถ้าเป็นของหวาน ก็คือ โดนัท ส่วนของคาวก็คือ ผัดไทย ไก่ป๊อป และเกี๊ยวซ่า”

ท้ายสุดนี้คุณพลอยเชิญชวน ให้มาลองทานอาหารหรือช้อปสินค้าจากผู้ประกอบการ Plant-based ที่ร้าน alt.Eatery ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท 51 “เรื่องเมนูอาหารในอนาคตจะมีเมนูใหม่ๆ เพิ่มขึ้นแน่นอน เช่น Plant-based เนื้อปู สำหรับร้านเราเปิดบริการทุกวัน 8 โมงเช้า-3 ทุ่ม มีที่จอดรถด้านหลังร้าน มีหลายคนถามว่าที่ตั้งใจกลางเมืองขนาดนี้เอาที่ไปทำที่จอดรถทำไม เพราะเราอยากบริการทุกคนให้สะดวกสบาย เดินทางได้ทุกรูปแบบทั้งรถสาธารณะ และรถส่วนตัว เพื่อให้มาที่ร้าน alt.Eatery ได้ง่ายขึ้น”


ส่วนการเดินทางโดยรถไฟฟ้าบีทีเอสมายัง ร้าน alt.Eatery ให้ลงที่สถานีทองหล่อ ใช้ทางออกหนึ่ง แล้วเดินมาที่ร้านได้อย่างสะดวกสบายจาก Skywalk จะมองเห็นรั้วสีเหลืองของร้าน หรือเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ก เพจ alt.Eatery

เพจ:https://web.facebook.com/alt.Eatery/?_rdc=1&_rdr

ปตท. ร่วมกับ ไออาร์พีซี ลุยธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อชีวิต

นนี้ (7 พฤศจิกายน 2565) – นายนพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ยืนกลาง) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อศึกษาการลงทุนตามกลยุทธ์ Advanced Business Integration (ABI) ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) โดยนายประสงค์ อินทรหนองไผ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ที่ 2 จากซ้าย) และนายกฤษณ์ อิ่มแสง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (ที่ 2 จากขวา) พร้อมด้วย นายจตุรงค์ วรวิทย์สุรวัฒนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่แผนกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ซ้าย) และนายสมเกียรติ เลิศฤทธิ์ภูวดล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายกลยุทธ์องค์กร บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (ขวา) ร่วมเป็นสักขีพยาน
 
ปตท. และ ไออาร์พีซี จะร่วมกันพัฒนา 4 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจผลิตวัสดุประสิทธิภาพชั้นสูง (High Performance Materials) ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนสำคัญของ Li-ion แบตเตอรี่ (Battery Component) ธุรกิจการทำให้สารบริสุทธิ์ (Purification) และธุรกิจเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์เพื่อชีวิต (Chemical for Life) ซึ่งสอดรับกับวิสัยทัศน์ของ ปตท. Powering Life with Future Energy and Beyond โดยในช่วงเริ่มต้นจะเน้นการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจเกี่ยวกับแผ่นกรองอากาศและน้ำ (Air และ Water Purification) สอดรับกับแนวโน้มของผู้บริโภคที่ดูแลรักษาสุขอนามัยมากขึ้น พร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ต่อยอดผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก Polypropylene (PP) และ Acrylonitrile Butadiene Styrene (ABS) ของ ไออาร์พีซี ได้เป็นอย่างดี

น้ำมันเครื่องบินเพื่อสิ่งแวดล้อม!!! ปตท. ขับเคลื่อนปท.ไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชน สังคม และประเทศในอนาคต

กลุ่ม ปตท. ผนึกกำลัง รุกธุรกิจน้ำมันเครื่องบินเพื่อสิ่งแวดล้อม สร้างสังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ขับเคลื่อนเป้าหมาย Net Zero ดันไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


วันนี้ (9 พฤศจิกายน 2565) นายนพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียม
ขั้นปลาย  บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการศึกษา พัฒนาและลงทุนผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel : SAF) ระหว่างบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดย นายจตุรงค์ วรวิทย์สุรวัฒนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่แผนกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (Thai Oil) โดย นายรัฐกร กัมปนาทแสนยากร 
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านกลยุทธ์องค์กร  บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) โดย          

นางวราวรรณ  ทิพพาวนิช  รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกลยุทธ์องค์กร บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) โดย นายสมเกียรติ เลิศฤทธิ์ภูวดล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่  กลยุทธ์ แผนและพัฒนาธุรกิจองค์กร และ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) โดย นายทรงพล เทพนำโสมนัสส์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านธุรกิจเอนเนอร์ยี่โซลูชัน ร่วมลงนาม 


การลงนามในครั้งนี้ผนวกรวมองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ของกลุ่ม ปตท. ในการประกอบธุรกิจโรงกลั่น พร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และการพัฒนากระบวนการกลั่นผลิตภัณฑ์น้ำมันที่มีประสิทธิภาพสูงจาก Thai Oil, GC และ IRPC ตลอดจนความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันอากาศยานมาอย่างยาวนานทั้งในประเทศและต่างประเทศของ OR  มาต่อยอดการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน ซึ่งเป็นพลังงานแห่งอนาคตที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพ มาตรฐานระดับโลก ได้แก่ เทคโนโลยีการผลิต Hydroprocessed Esters and Fatty Acids (HEFA) และ Alcohol to Jet (ATJ) มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก

 
“กลุ่ม ปตท. มุ่งขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ผลักดันเป้าหมาย Net Zero ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชีวภาพในประเทศ ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเชิงเศรษฐกิจ  ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมพลังงานที่ยั่งยืน พร้อมรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชน สังคม และประเทศในอนาคต สอดคล้องวิสัยทัศน์  Powering Life with Future Energy and Beyond” นายนพดล ปิ่นสุภา กล่าวในตอนท้าย


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. CLOUD47Bangkok
Take Me Top